อารมณ์เริ่มควบคุมได้เมื่อใด?

June 23, 2024

กบ. กอข้าว เพิ่มตระกูล


คนเราทุกคนเกิดมาพร้อมกับการมีอารมณ์ มีความรู้สึก อารมณ์จึงเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ทุกคน อารมณ์พื้นฐาน เช่น โกรธ เศร้า กลัว สุข รังเกียจ อารมณ์เหล่านี้สามารถรู้สึกและเข้าใจได้ตั้งแต่วัยเด็ก


ย้อนกลับไปเมื่อเรายังเล็ก เราอาจร้องไห้งอแง เพราะหิวข้าว อยากกินเฉพาะของที่ชอบ โวยวายเมื่อไม่ดั่งใจ รู้สึกกลัวความผิดเมื่อทำของเล่นพังเสียหายเลยต้องเอาไปซ่อนไว้ หรือแม้กระทั่งโกรธเป็นฟืนเป็นไฟกระทืบเท้าเพราะไม่ได้ของเล่น

แต่เมื่อเราโตขึ้นเรากลับไม่ทำพฤติกรรมแบบนั้นแล้ว นั่นเพราะอารมณ์เหล่านี้หายไปอย่างนั้นหรือ…?
คำตอบคือไม่ อารมณ์ไม่หายไปไหนยังคงรู้สึกอยู่เสมอ หากแต่เราเรียนรู้ที่จะเข้าใจ รับมือ และควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น

🔥 รู้หรือไม่ว่า เราเริ่มควบคุมอารมณ์ได้ตอนไหน?


สมองของเราฉลาดมาก สมองจะมีการพัฒนาการอย่างเป็นระบบโดยสมองส่วนหน้าจะทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของเรา หากเรามีสมองส่วนหน้าที่ดี พฤติกรรมของเราก็จะดี นั่นหมายความว่าการควบคุมอารมณ์ ถือเป็นหน้าที่สำคัญของสมองส่วนหน้าที่จะต้องฝึกให้สามารถรับมือกับอารมณ์ที่ถูกกระตุ้นในแต่ละวันได้

โดยการควบคุมอารมณ์ (Emotional control) จะเริ่มพัฒนาได้เมื่ออายุ 4 ปี 5 เดือน จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมเด็ก 2 – 3 ปี มักจะดื้อต่อต้านเป็นพิเศษ นั่นก็เพราะยังไม่ถึงวัยของพัฒนาการด้านการควบคุมอารมณ์ของเด็กนั่นเอง

เด็กสามารถเข้าใจและแยกแยะความแตกต่างของอารณ์ได้ รวมถึงสามารถเลือกที่จะแสดงอารมณ์ออกมาอย่างเหมาะสมได้ แต่สำหรับเด็กบางคนหากไม่มีผู้ใหญ่คอยสอนเรื่องอารมณ์ต่างๆ ก็อาจเป็นเรื่องยากที่เด็กจะรับมือกับอารมณ์ว้าวุ่นของตัวเองได้


👍🏻 3 ทักษะสำคัญช่วยให้เด็กพร้อมรับมือกับอารมณ์


เมื่ออารมณ์เป็นเรื่องของสมอง สมองจึงได้พัฒนาทักษะต่างๆที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตผ่านการทำงานของสมองส่วนหน้า หรือ Executive Functions หรือ EF คือ การทำงานของสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่ควบคุมและเชื่อมโยงให้สมองส่วนต่างๆทำงานตามเป้าหมายจนสำเร็จ ซึ่ง EF จำเป็นต้องสะสมและถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เด็ก ช่วง 3-6 ปี หากได้รับการฝึก EF เด็กก็จะจัดการตนเองได้ดี เข้าสังคมได้ดี

ทักษะพื้นฐานก่อนที่เด็กจะควบคุมอารมณ์ได้ดีจำเป็นต้องมีการพัฒนาทักษะเหล่านี้มาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่


👩‍👧‍👧 ผู้ใหญ่สามารถช่วยเด็กในการจัดการอารมณ์ได้


1. การระบุอารมณ์ : สอนการบอกชื่ออารมณ์ รู้จักอารมณ์ ดังเช่น ในหนังเรื่อง Inside out จะช่วยให้เด็กรู้จักอารมณ์และแบบ ระบุสิ่งที่กระตุ้นอารมณ์เหล่านั้น ผู้ใหญ่ช่วยสะท้อนอารมณ์ควารู้สึกของเด็กได้ เมื่อเด็กรู้จักว่าอารมณ์เป็นเรื่องปกติจะช่วยให้เด็กจัดการอารมณ์ได้ดีขึ้น


2. ฝึกจัดการอารมณ์ : การสร้างสถานการณ์ต่างๆเพื่อให้เด็กเรียนรู้วิธีการจัดการอารมณ์อย่างเหมาะสม ผ่านการอ่านนิทาน ฝึกเข้าใจอารมณ์ของตัวละคร ลองสมมติว่าหากเป็นตัวเด็กเองรู้สึกแบบนี้จะแสดงออกอย่างไร


3. สร้างพื้นที่ปลอดภัยในการแสดงอารมณ์ : ในสถานการณ์จริงแน่นอนว่า “มือใหม่หัดโกรธแบบเด็กๆ” คงยังไม่สามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสมในครั้งแรกๆ ผู้ใหญ่จำเป็นต้องเปิดพื้นที่ให้เด็กๆได้แสดงออกทางอารมณ์ ยอมรับการมีอยู่ของอารมณ์ลูก ให้ลูกได้ลองผิดลองถูก เมื่ออารมณ์เย็นลงจึงค่อยๆคุยด้วยเหตุผล


กระบวนการจัดการอารมณ์ต้องดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป สภาพแวดล้อมและผู้ใหญ่รอบตัวเด็กเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสมให้เด็กเพื่อให้พวกเขาสามารถอยู่ในสังคมได้ เข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น พร้อมเรียนรู้โลกกว้าง


เพราะทุกอารมณ์คือตัวตนของเรา


เอกสารอ้างอิง

กบ. กอข้าว เพิ่มตระกูล
กบ.1096