บทความของเรา
ปรับพฤติกรรมอย่างไรให้ได้ผล
การปรับพฤติกรรมและการเลี้ยงดูอาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคุณพ่อคุณแม่ในการรับมือ หากไม่รู้จะเริ่มต้นจากตรงไหนครูหนูดีขอแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ลงไปมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของเด็กๆ ให้มากขึ้น สร้างสายสัมพันธ์ให้แข็งแรง สังเกตหาข้อดีในตัวเขาและชื่นชมในพฤติกรรมนั้น เลือกพฤติกรรมที่อยากจะปรับ 1 อย่างเพื่อให้เราสามารถใส่ใจและสังเกตพฤติกรรมเป้าหมายได้ดีขึ้น
วัยทอง วัยว้าวุ่น
วัย 2 ขวบเป็นช่วงอายุที่พัฒนาการทางด้านร่างกายพัฒนาอย่างก้าวกระโดด แต่พัฒนาการด้านภาษายังสื่อสารได้ไม่มาก เด็กๆ ยังไม่เก่งพอที่จะเล่าหรือบอกสิ่งที่ตนเองคิดได้ ทำให้พฤติกรรมที่ออกมาเป็นพฤติกรรมต่อต้าน ชอบปฏิเสธ ร้องอาละวาด (Temper tantrum) อารมณ์ขึ้นลงได้ง่ายและรวดเร็ว
ช่วยเหลือตัวเองตามวัย มั่นใจ หนูทำได้
พัฒนาการทั้ง 4 ด้านไม่ว่าจะเป็น กล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ภาษา และการช่วยเหลือตนเองเป็นสิ่งที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน หากพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งล่าช้าจะส่งผลต่อพัฒนาการด้านอื่นไม่มากก็น้อย
สร้างวินัยอย่างไรได้ใจลูก
วินัยเชิงบวก (Positive discipline) คือวิธีการที่จะสอนให้เด็กๆ รู้จักหน้าที่ ความรับผิดชอบของตนเองที่มีต่อตนเอง ส่วนรวมในบ้าน หรือต่อสังคม
ชวนลูกเล่นอะไรดี
การเล่นของเด็กๆ ที่มีความบกพร่องการบูรณาการประสาทความรู้สึกนั้นสามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้จากการจัดกิจกรรมที่มีสิ่งเร้าอย่างเหมาะสมกับเด็กแต่ละคน และมีความท้าทายที่พอดี (Just right challenge) จะทำให้เกิดการปรับตัว (Adaptive response) ต่อสิ่งเร้านั้นแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมหรือการเคลื่อนไหวที่เหมาะสม
ความบกพร่องการประมวลผลการรับความรู้สึก
การประมวลผลการรับความรู้สึก (Sensory Processing) หรือในบางครั้งเราอาจคุ้นเคยกับคำว่าการบูรณาการประสาทความรู้สึก (Sensory Integration) ทั้ง 2 คำนี้มีหลักการพื้นฐานมากจากทฤษฎีเดียวกันคือ ทฤษฎีการบูรณาการประสาทความรู้สึก ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในสมอง
หรือเพราะเรา…เลี้ยงลูกผิดเอง
ในช่วงที่ผ่านมานี้ คุณครูมีโอกาสได้พูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่หลายท่านที่พาลูกมาเข้ารับการประเมินพัฒนาการที่คลินิกของเรา หลายบ้านมีความกังวลใจในพัฒนาการของลูก อยากวางแผนการเลี้ยงดูเพื่อพัฒนาการของลูกให้สมวัย เมื่อสอบถามเกี่ยวกับการเลี้ยงดูที่บ้าน คุณพ่อคุณแม่บางท่านเกิดความคิดว่า “หรือเพราะเราเลี้ยงลูกผิดเอง”
การควบคุมอารมณ์ฝึกได้
ให้เด็กค่อยๆเรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหา ประสบการณ์ของเด็กๆที่ได้ลงมือทำและจัดการกับปัญหาโดยมีผู้ปกครองอยู่เคียงข้างจะทำให้เด็กๆ มีความมั่นใจที่จะแก้ไขปัญหาด้วยตนเองแม้จะต้องเผชิญกับความเสียใจเด็กๆ จะก้าวผ่านไปได้ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นนี้แสดงออกถึงทักษะการควบคุมอารมณ์ที่ดีนั่นเอง
ความจำดีเริ่มกี่ขวบ
ความจำใช้งานเป็นด่านแรกของการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และเป็นจุดเริ่มต้นของทักษะสมองเชิงบริหาร EF ที่จะต่อยอดอสู่อนาคต ซึ่งสามารถเริ่มได้ตั้งแต่อายุ 1 ปี ผ่านการเล่นร่วมกันโดยความยากของกิจกรรมที่เล่นด้วยกันมีความเหมาะสมตามระดับพัฒนาการ สร้างเวลาคุณภาพกับคุณพ่อคุณแม่และเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำงานบ้านตามวัย เรียนรู้ผ่านการลงมือทำจริงจะทำให้เราเห็นศักยภาพที่ซ่อนอยู่ของเด็กๆ