“ดนตรีช่วยให้เด็กรู้จักการยั้งคิดไตร่ตรอง”
“ดนตรีช่วยให้เด็กมีทักษะการวางแผนจัดการ”
“ดนตรีช่วยให้เด็กมีสมาธิและความจำขณะใช้งาน”
ดนตรีช่วยพัฒนาทักษะสมอง
ผลวิจัยจากประเทศอังกฤษชี้ว่าการเล่นดนตรีสามารถช่วยส่งเสริมทักษะExecutive Function (EF)ได้
ซึ่งทักษะสมอง Executive Functio (EF) เปรียบเสมือน CEO ของสมอง เพราะทักษะนี้ทำหน้าที่ช่วยควบคุมจัดการกระบวนการทางความคิด การกระทำ และความรู้สึก เป็นทักษะที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในชีวิต แต่ทักษะนี้ไม่ได้ติดตัวมาแต่กำเนิด ต้องมีการฝึกฝน พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และจะพัฒนาได้ดีในช่วงอายุ 3-6 ปี
“ดนตรีช่วยให้เด็กรู้จักการยั้งคิดไตร่ตรอง”
ผลวิจัยจากคุณ Bowmer ประเทศอังกฤษพบว่าเด็กอายุ 3-4 ปี หากได้เรียนดนตรีจะทำให้เด็กมีทักษะสมองด้านการยั้งคิดไตร่ตรองดีขึ้นเมื่อเปรี่ยบเทียบกับเด็กที่ไม่ได้เรียนดนตรี ซึ่งทักษะสมองด้านการยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) เป็นหนึ่งในทักษะสำคัญของสมองส่วน Executive function (EF) ซึ่งช่วยให้เด็กรู้จักรอคอย สามารถทำกิจกรรมตามกติกาได้
“ดนตรีช่วยให้เด็กมีทักษะการวางแผนจัดการ”
ผลวิจัยยังพบอีกว่าดนตรีสามารถช่วยให้เด็กมีการวางแผนที่ดีขึ้น (Planning and Organizing) ซึ่งทักษะนี้เป็นทักษะสำคัญช่วยให้เด็กสามารถวางแผนจัดการตนเอง เมื่อต้องทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ซับซ้อน หรือกิจกรรมที่ต้องทำร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอนมีระบบแบบแผน
“ดนตรีช่วยให้เด็กมีสมาธิและความจำขณะใช้งาน”
เนื่องจากการเล่นดนตรีต้องมีการอ่านโน้ตและจำตัวโน้ต เพื่อเล่นในท่อนต่อ ๆ ไป เด็กจึงจำเป็นต้องมีสมาธิ (Attention) และความจำขณะเล่น (Working Memory) อย่างเช่นเปียโน เวลาเด็กอ่านโน้ตต้องจำตัวโน้ตอย่างน้อย 2-3 โน้ตเพื่อกดให้เกิดเสียงในจังหวะถัดไป และต้องทำแบบนี้ซ้ำต่อไปเรื่อย ๆ จึงจะเกิดเป็นเสียงเพลง ซึ่งทักษะนี้เป็นหนึ่งในทักษะสำคัญที่ทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ในห้องเรียนได้ดี
อ่านมาถึงตรงนี้ผู้ปกครองหลาย ๆ ท่านอาจจะอยากให้ลูก ๆ ได้เรียนดนตรีเพื่อกระตุ้นทักษะ
ต่าง ๆ แต่อย่าลืมไปว่าความชอบของเด็ก ๆ เองก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากเราได้ทำอะไรที่ชอบ จะทำให้
มีแรงจูใจที่มากกว่า การส่งเสริมทักษะ Executive Function (EF) ไม่ได้มีเพียงแค่จากกิจกรรมจากดนตรีเท่านั้นค่ะ ดนตรีเป็นเพียงหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะ Executive Function (EF) ให้ดีขึ้น
แต่ถ้าหากเด็ก ๆ ได้มีโอกาสเล่นดนตรี หรือกิจกรรมอื่น ๆ โดยมีพื้นฐานจากความชอบของเขา เขาก็จะสามารถทำได้ดี และสามารถต่อยอดไปเป็นความสามารถพิเศษติดตัวต่อไปได้อีกด้วยค่ะ
เอกสารอ้างอิง
- Bowmer, A., Mason, K., Knight, J., & Welch, G. (2018). Investigating the Impact of a Musical Intervention on Preschool Children’s Executive Function. Frontiers in Psychology, 9 (Music and EF in Preschooler).
- Chen, J., Meike Scheller, Wu, C., Biyu Hu, R. P., Liu, C., Liu, S.,Chen, J. (2021). The relationship between early musical training and executive functions: Validation of effects of the sensitive period. Social for Education, Music and Psychology Research, 14.