12 เคล็ด (ไม่) ลับที่จะทำให้พี่น้องรักกัน 

February 25, 2024

กบ. ณัฐพัชร์ สรรพธนาพงศ์

เรื่องหนักใจของพ่อแม่

เรื่องน่าหนักใจอันดับที่ 1 ของพ่อแม่ที่มีลูกหลายคนคงหนีไม่พ้น ทำอย่างไรให้พี่น้องรักกัน แม้ในวันที่พ่อแม่ไม่อยู่  วันนี้ครูไอซ์มีโอกาสได้อ่านบนความของ ดร. แม็กดาลีน่า แบตเทิลส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเด็กจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ที่มาแชร์ประสบการณ์ 12 เคล็ด (ไม่) ลับ ที่ทำให้เธอและพี่น้องรักกันค่ะ

ทำอย่างไรให้พี่น้องรักกัน

  • สอนศิลปะการขอโทษ. ไม่ว่าพี่หรือน้อง เมื่อทำผิด คุณพ่อคุณแม่ต้องสอนให้เขารู้จักขอโทษ เพื่อให้เขายอมรับสิ่งที่ตัวเองทำ และเข้าใจว่าผิดอย่างไร เพื่อเป็นพื้นฐานในการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี 
  • สอนศิลปะการให้อภัย คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูก ๆ รู้จักการให้อภัยถึงแม้ภายในใจของเขาอาจจะยังขุ่นเคืองอยู่ โดยเริ่มจากวิธีง่าย ๆ เช่น พูดว่าฉันยกโทษให้ถึงแม้ในใจจะไม่ได้คิดแบบนั้น โดยเวลา และคำอธิบายจะค่อย ๆ ทำให้พวกเขารู้สึกดีขึ้น 
  • การช่วยเหลือซึ่งกันและกันหาโอกาสให้ทั้งพี่และน้องได้ช่วยเหลือกันตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ เช่น พี่ป้อนข้าวให้น้อง การช่วยกันแต่งตัว การร้องเพลงให้กันและกันฟัง เมื่อเติบโตไปพวกเขาจะช่วยเหลือกันในเรื่องใหญ่ ๆ 
  • บอกรักกันทุกวันสอนให้ลูก ๆ บอกรักกัน ในครั้งแรก ๆ อาจจะเขินไปบ้าง แต่การพูดและแสดงออกถึงความรักระหว่างกันเป็นการสอนให้พวกเขาแสดงออกต่อกันอย่างนุ่มนวล
  • แสดงความรักต่อกันจากผลวิจัยพบว่าการแสดงออกทางการกระทำ เช่นการโอบกอด การจับมือ ช่วยเพิ่มฮอร์โมน Oxytocin (สารแห่งความสุข) ในร่างกายได้
  • การมีเวลาส่วนตัวระหว่างพี่น้องเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้มีเวลาส่วนตัว โดยไม่มีพ่อแม่เพื่อให้เขาได้สร้างความสนิทสนมระหว่างกัน
  • ไม่สร้างบรรยากาศของการแข่งขันอย่าสร้างบรรยากาศของการแข่งขัน หรือเปรียบเทียบข้อดีของลูกแต่ละคน แต่ให้ชื่นชมในสิ่งที่พวกเขาทำได้ดีทั้งคู่ หรือชื่นชมโดยไม่มีการเปรียบเทียบกัน
  • เป็นตัวอย่างเรื่องการมีน้ำใจและการให้เกียรติคุณพ่อและคุณแม่เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก ๆ ทั้งการปฏิบัติตัวต่อกันอย่างให้เกียรติ การมีน้ำใจต่อกัน การพูดจาต่อกันอย่างสุภาพ 
  • สร้างความทรงจำที่ดีระหว่างพี่น้อง ที่สามารถติดตัวไปได้ตอนโตมีเวลาคุณภาพด้วยกันในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการไปเที่ยวด้วยกัน การเล่นบอร์ดเกมส์ หรือทำเรื่องสนุก ๆ ด้วยกัน ทำให้พวกเขามีความทรงจำที่ดี หรือแม้กระทั่งถ่ายรูปเอาไว้เพื่อให้พวกเขาสามารถหยิบช่วงเวลาดี ๆ ขึ้นมาได้แม้ในวันที่เจอปัญหา 
  • สอนทักษะการแก้ไขความขัดแย้ง การทะเลาะกันระหว่างพี่กับน้องเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องตั้งกติกาในการอยู่ร่วมกัน เช่น เมื่อเด็ก ๆ กำลังแย่งของเล่นกัน เปิดโอกาสให้เขาแก้ไขปัญหา เช่นใครจะเล่นก่อนกัน แบ่งกันเล่น แต่ถ้าหากไม่สามารถตกลงกันได้ คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นผู้สร้างกติกา และกติกานี้คุณพ่อคุณแม่ต้องทำจริง ๆ เพื่อให้เขาเข้าใจถึงข้อตกลงด้วย  
  • มองบวกและคิดดีต่อกันเมื่อเกิดเหตุการณ์ทะเลาะกัน คุณพ่อคุณแม่อาศัยช่วงนี้สอนลูก ๆ ให้เข้าใจซึ่งกันและกัน และมองกันในแง่ดี เช่นเมื่อพี่เผลอผลักน้องล้ม คุณพ่อคุณแม่อาจถามว่าเขาไม่ได้ตั้งใจใช่ไหม และแน่นอนว่าเด็ก ๆ ไม่ได้มีเจตนาจะทำร้ายกัน เปิดโอกาสให้เขาได้อธิบายและกล่าวคำขอโทษ เนื่องจากเป็นอุบัติเหตุและไม่ได้มีเจตนาทำร้ายกัน 
  • โชคดีที่มีพี่น้องไม่ใช่ทุกคนที่จะมีพี่น้อง สอนให้พวกเขาเข้าใจถึงการมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพี่น้องตั้งแต่เด็ก แล้วความพันธ์พี่น้องที่ดีจะอยู่กับพวกเขาไปอีกนาน

เอกสารอ้างอิง

กบ. ณัฐพัชร์ สรรพธนาพงศ์
กบ.1115