Executive Function (EF)

February 27, 2024

กบ.นววรรณ เสมาเมือง

ทักษะการคิดเชิงบริหาร Executive Function (EF)

ทักษะการคิดเชิงบริหาร Executive Function (EF) คือการทำหน้าที่ระดับสูงของสมองส่วนหน้า (Prefrontal Cortex) ในการควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำ เพื่อกำกับควบคุมตนเองให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

แต่ EF ไม่เกิดขึ้นเอง ต้องกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 25 ปี

ช่วงที่ดีที่สุดคือ แรกเกิด – 6 ปีอย่าปล่อยให้เวลาทองนี้ผ่านไปนะคะ 

องค์ประกอบหลักของ EF

1. Working memory ความจำเพื่อใช้งาน : จดจำข้อมูล เก็บไว้ในใจ นำมาใช้งานได้เมื่อต้องการ
2. Inhibitory control การหยุดยับยั้ง : จดจ่อกับงาน ตัดสิ่งรบกวนได้ หยุดคิด หยุดการกระทำที่ไม่ควร
3. Cognitive flexibility การยืดหยุ่นทางความคิด : คิดนอกกรอบ ปรับมุมมอง ยืดหยุ่นหาทางใหม่ 
4. Emotional control การควบคุมอารมณ์ : ควบคุมอารมณ์ได้ตามวัย แสดงออกอย่างเหมาะสม
5. Plan / organize การวางแผนจัดการ : วางแผน จัดลำดับความสำคัญ เริ่มต้นลงมือทำได้จนงานเสร็จ

เด็กที่มีการกำกับควบคุมตนเองต่ำ มีการยับยั้งชั่งใจน้อย ส่งผลตั้งแต่วัยเด็กจนโต
เช่น ปัญหายาเสพติด ก้าวร้าว ท้องไม่พร้อม เป็นต้น

พฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้

1.ใช้กำลังเมื่อทะเลาะกับเพื่อน
2.ยึดติดของเล่น สถานที่ อาหาร
3.ระเบิดอารมณ์รุนแรง
4.ขาดการจดจ่อ
5.จดจำงานที่ครูสั่งไม่ได้
6.ทำการบ้านไม่เสร็จ

ลักษะณะของเด็กที่มี EF ดี
  1. ความจำดี
  2. มีสมาธิจดจ่อต่อเนื่องยาวนาน
  3. ไม่ทำในสิ่งที่ไม่สมควร
  4. ทำตามกติกาของโรงเรียน
  5. อดทนรอคอยได้ดี
  6. ไม่ยอมแพ้ง่ายต่อปัญหา
  7. พยายามทำให้เป้าหมายสำเร็จ
  8. วางแผนจัดการงานได้ดี
  9. หยุดพฤติกรรมไม่เหมาะสมได้
  10. แสดงออกทางอารมณ์ได้ดี
กบ.นววรรณ เสมาเมือง
กบ.1124