Tactile ระบบประสาทการรับความรู้สึกที่ซ่อนในกิจกรรมของลูกน้อย

March 10, 2024

กบ. กอข้าว เพิ่มตระกูล

เด็กที่มีปัญหาการเขียนหรือไม่สามารถจัดการของในมือได้อย่างคล่องแคล่ว อาจเป็นปัญหาจากระบบ Tactile ที่บกพร่อง ซึ่งส่งผลต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น ชอบกินอาหารซ้ำๆ หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดเนื่องจากไม่ชอบผิวสัมผัส มีปัญหาในการเลือกใส่เสื้อผ้าเนื้อจากไม่ชอบเนื้อผ้า อีกทั้งยังส่งผลถึงปัญหาด้านพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก


“Tactile system คืออะไร”


Tactile คือ การที่มนุษย์ได้รับความรู้สึก ผ่านตัวรับทางผิวหนัง ทำหน้าที่ในการรับสัมผัส การสั่นสะเทือน อุณหภูมิ และความเจ็บปวด โดยส่งกระแสประสาทไปยังสมองเพื่อประมวลผล ช่วยให้เราพัฒนาความสัมพันธ์กับผู้อื่นผ่านการกอด และการลูบไล้ ทำให้เราอบอุ่น รู้สึกปลอดภัยจากอันตราย เช่น การรับรู้ร้อนเย็น รู้ว่าอะไรควรสัมผัส ไม่ควรสัมผัส รับรู้ความเจ็บปวด บอกตำแหน่งของความเจ็บปวดนั้นได้

“Tactile สำคัญอย่างไรกับการเลี้ยงลูก”


เด็กที่มีปัญหาการเขียน ไม่สามารถจัดการของในมือได้อย่างคล่องแคล่ว อาจเป็นปัญหาจากระบบ Tactileเมื่อผิวหนังที่เป็นตัวรับความรู้สึกของระบบ Tactile ถูกกระตุ้น สมองจะรับรู้และแปลข้อมูลการได้รับสัมผัส ช่วยให้เราสามารถรับรู้และแปลความจากการจับสัมผัสสิ่งต่าง ๆ ได้ รวมถึงการสัมผัสภายในช่องปาก ระบบ Tactile จึงจำเป็นสำหรับทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การกินอาหาร การนอน การแต่งตัว หวีผม ตัดผม และยังเกี่ยวข้องกับการทำงานของมือ ทักษะการใช้นิ้วมือและงานที่ต้องอาศัยความปรานีต เช่น การควบคุมการออกแรงเขียนดินสอไม่ให้เข้มหรืออ่อนมากเกินไป ดังนั้นเมื่อเด็กที่บกพร่องระบบ Tactile อาจส่งผลให้ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างยากลำบาก เช่น

  • ชอบกินอาหารซ้ำ ๆหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดเนื่องจากไม่ชอบผิวสัมผัส
  • มีปัญหาในการเลือกใส่เสื้อผ้าเนื้อจากไม่ชอบเนื้อผ้า
  • เป็นเด็กไม่ชอบตัดผม ไม่ชอบตัดเล็บ
  • มีปัญหาด้านการเขียน ดูงุ่มง่ามเวลาต้องใช้มือและนิ้วมือในการทำกิจกรรม


มีปัญหาด้านพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กเมื่อผิวหนังที่เป็นตัวรับความรู้สึกของระบบ Tactile ถูกกระตุ้น สมองจะรับรู้และแปลข้อมูลการได้รับสัมผัส ช่วยให้เราสามารถรับรู้และแปลความจากการจับสัมผัสสิ่งต่าง ๆ ได้ รวมถึงการสัมผัสภายในช่องปาก ระบบ Tactile จึงจำเป็นสำหรับทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การกินอาหาร การนอน การแต่งตัว หวีผม ตัดผม และยังเกี่ยวข้องกับการทำงานของมือ ทักษะการใช้นิ้วมือและงานที่ต้องอาศัยความปรานีต เช่น การควบคุมการออกแรงเขียนดินสอไม่ให้เข้มหรืออ่อนมากเกินไป

“สัญญาณความผิดปกติของระบบ Tactile”

  1. การตอบสนองต่อระบบ Tactile “มากเกินไป” (Over-responsiveness) ทำให้เด็กมักหลีกหนีหรือแสดงอาการไม่ชอบการสัมผัส
    • กลัวไม่ชอบที่คนเยอะๆ เพราะต้องการหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดนตัวผู้อื่น
    • มีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ไม่ชอบการอาบน้ำ แปรงฟัน หวีผม สระผม เป่าผม ตัดผม หรือตัดเล็บ เนื่องจากเป็นกิจวัตรประจำวันที่กระตุ้นการสัมผัสที่ผิวหนัง
    • ชอบเดินเขย่งเท้า ไม่ชอบเดินเท้าเปล่า ไม่ชอบเดินบนพื้นดิน พื้นทราย หรือพื้นหญ้า
    • แสดงอารมณ์โกรธ ไม่ชอบการถูกกอดหรือการสัมผัสจากผู้อื่น
    • รู้สึกรำคาญ ทนไม่ได้กับการเสียดสีของตะเข็บเสื้อ ป้ายคอเสื้อที่มาโดนผิวหนัง
    • ไม่ชอบการเล่น เลอะเทอะ เล่นดิน เล่นทราย เล่นโฟม
    • ไม่ชอบเล่นกีฬา เช่น ไม่ชอบว่ายน้ำ เนื่องจากตัวต้องสัมผัสน้ำตลอดเวลา

  2. การตอบสนองต่อระบบ Tactile “น้อยเกินไป” (Under- responsiveness) ทำให้เด็กมักไม่ค่อยรู้สึกตัวเวลาโดนสัมผัส หรือมักมองหาสิ่งเร้าทางการสัมผัสที่เข้มข้นมากขึ้น
    • ชอบทานอาหารรสจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด หวานจัด
    • เลือกทานอาหารซ้ำ ๆ เฉพาะที่กรอบ ๆ เช่น หนังไก่ทอด
    • ชอบทานอาหารเลอะหน้า เลอะปาก เพราะไม่รู้สึกว่ามีอาหารเลอะหน้าอยู่
    • ไม่ค่อยรู้สึกตัวเวลาเจ็บ ดูเหมือนอดทนต่อความเจ็บปวดได้
    • ไม่รู้สึกเวลาถูกคน สัตว์ สิ่งของมาสัมผัส ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
    • บกพร่องด้านการรับรู้ รูปทรงของวัตถุโดยการสัมผัส เช่น ไม่สามารถหาของใช้ในกระเป๋า หรือถุงโดยไม่มองได้ (Tactile discrimination)

“กิจกรรมการเล่น ที่กระตุ้น ระบบประสาทรับความรู้สึก Tactile”

พ่อแม่สามารถจัดกิจกรรมกระตุ้นระบบประสาทรับความรู้สึกกายสัมผัสได้ เช่น

  • สร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นที่เลอะเทอะ เช่น เล่นดิน เล่นก่อกองทราย
  • เล่นของเล่นที่ใช้การสัมผัส เช่น สไลม์ ผงทราย
  • มอบโอกาสในการสัมผัสพื้นผิวที่หลากหลาย ตัวเช่น สัมผัสเปลือกไม้บนต้นไม้ หญ้า หิน ฯลฯ และชวนลูกพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์การสัมผัสสิ่งเหล่านั้น
  • การเล่นที่ให้การรับสัมผัสได้ทั่วร่างกาย เช่น บ่อบอล ว่ายน้ำ ฯลฯ
  • การเล่นสัมผัสที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เช่น เล่นหาของในบ่อบอล วาดภาพด้วยนิ้ว หรือเขียนตัวอักษรภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ ด้วยนิ้วบนถาดทราย
  • ส่งเสริมการเล่นในช่องปากก่อนมื้ออาหาร เช่น เป่าฟองสบู่ เคี้ยวหมากฝั่ง หรือเคี้ยวน้ำแข็งก่อนอาหารจะช่วยลดความไวต่อเนื้อสัมผัสของอาหารได้
  • เล่นนวดแขนนวดขาก่อนแต่งตัวให้ลูก การใช้การนวดจะช่วยให้ลูกทนทานต่อผิวสัมผัสของเสื้อผ้าได้ดีขึ้น
ภาพโดย ดร.ครูเบล

แต่หากเด็กกลัวและกังวลกับการสัมผัสอย่างมาก ผู้ดูแลหรือผู้ปกครองไม่ควรบังคับให้เด็กสัมผัสในสิ่งที่เด็กกลัว ควรปรึกษานักกิจกรรมบำบัดผู้เชี่ยวชาญด้านการบูรณาการประสาทรับความรู้สึกเพื่อประเมินและบำบัดรักษาต่อไป หากเด็กมีปัญหาเหล่านี้สามารถปรึกษานักกิจกรรมบำบัด Sense Say ได้เลยค่ะ

เอกสารอ้างอิง

  • สรุปเนื้อหาจากการอบรม การพัฒนาศักยภาพเด็กผ่านกิจกรรมบูรณาการประสาทการรับความรู้สึก ฉบับนักวิชาชีพ (Basic and Advance) วิทยากร อ.ดร.ก.บ. กันนิกา เพิ่มพูนพัฒนา และ อ.ดร.ก.บ. พีรเดช ธิจันทร์เปียง
  • The Tactile System
  • Sensory Tactile Activities
กบ. กอข้าว เพิ่มตระกูล
กบ.1096